วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560

ทฤษฎีพัฒนาการของโคลเบิร์ก

ลอเรนซ์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg)

20


ประวัติ

           ลอว์เร Kohlberg (25 ตุลาคม 1927 - 19 มกราคม 1987) เป็น อเมริกันยิว นักจิตวิทยา ที่เกิดใน Bronxville, New York , ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็น Harvard University . มีผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาคุณธรรมและเหตุผล ที่เขาเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดสำหรับเขา ในทฤษฎีของขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรม . ลูกศิษย์ใกล้ชิดของ Jean Piaget 's ทฤษฎีของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ การทำงานของ Kohlberg สะท้อนและขยายความคิด ของบรรพบุรุษของเขาในเวลาเดียวกันการสร้างเขตข้อมูลใหม่ภายในจิตวิทยา "การพัฒนาคุณธรรม"

นักวิชาการเช่น เอลเลียต Turiel และ Rest เจมส์ มีการตอบสนองการทำงานของ Kohlberg กับผลงานของตัวเองอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาเชิงประจักษ์โดย Haggbloom et al,โดยใช้เกณฑ์หกเช่นการอ้างอิงและการรับรู้, Kohlberg ถูกพบว่าเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของศตวรรษที่ 30 20

แนวคิด

         เด็กยังไม่มีคุณธรรมภายในใจของตนเองเด็กเข้าใจเหตุผลของการกระทำจากการยอมรับให้เรื่องการลงโทษและการได้รับรางวัล ในพฤติกรรมที่ดี เช่น “การขโมยไม่ดี เพราะจะโดนลงโทษ”

ขั้นตอนของการพัฒนาคุณธรรม
         ในปี 1958 วิทยานิพนธ์ของเขา, Kohlberg เขียนสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันในขณะนี้เป็น ขั้นตอน Kohlberg ของการพัฒนาคุณธรรม .  ขั้นตอนเหล่านี้เป็นเครื่องบินของคุณธรรมเพียงพอรู้สึกที่จะอธิบายการพัฒนาของ เหตุผลเชิงจริยธรรม . ที่สร้างในขณะที่เรียนจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยชิคาโกทฤษฎีแรงบันดาลใจจากการทำงานของ Jean Piaget และเสน่ห์กับปฏิกิริยาของเด็กที่ ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . Kohlberg เสนอรูปแบบของการศึกษา "โสคราตีส" คุณธรรมและยืนยันความคิด ที่ดิวอี้ของการพัฒนาที่ควร เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา นอกจากนี้เขายังอธิบายวิธีการศึกษาจะมีผลต่อการพัฒนาจริยธรรมโดยการปลูกฝัง

         และวิธีการที่โรงเรียนของรัฐสามารถมีส่วนร่วมในการศึกษาทางศีลธรรมที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
พระองค์ ทฤษฎี ถือที่ใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมซึ่งเป็นพื้นฐานของการ มีจริยธรรม พฤติกรรมมีหกที่สามารถระบุตัวพัฒนาการที่สร้างสรรค์ ขั้นตอน - แต่ละเพิ่มเติมเพียงพอที่ตอบสนองต่อประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรมมากกว่าครั้ง ในการศึกษาเหล่านี้ Kohlbergตามการพัฒนาของการตัดสินใจเชิงจริยธรรมที่เป็น ไกลเกินกว่าวัย แต่เดิมการศึกษาก่อนหน้าโดยเพียเจต์,ที่ยังอ้างตรรกะที่และศีลธรรมพัฒนาผ่านขั้นตอนการก่อสร้าง การขยายอย่างมากเมื่อรากฐานนี้มันถูกกำหนดว่ากระบวนการของการพัฒนาจริยธรรมเป็นกังวลกับหลัก ความยุติธรรม และว่า การพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด ช่วงชีวิต ,การเจรจาการวางไข่ได้จากผลปรัชญาของการวิจัยดังกล่าว 
Kohlberg ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยนำเสนอวิชาที่มี ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม . จากนั้นเขาก็จะจัดหมวดหมู่และจัดให้เหตุผลที่ใช้ในการตอบสนองที่เป็นหนึ่งในหกขั้นตอนที่แตกต่างกันแบ่งออกได้เป็นสามระดับ: Pre-ธรรมดาทั่วไปและการโพสต์ธรรมดา แต่ละระดับที่มีสองขั้นตอนขั้นตอนเหล่านี้อิทธิพลของผู้อื่นและได้ถูกนำมาใช้โดยผู้อื่นเช่น Rest เจมส์ ในการทำแบบทดสอบเกี่ยวกับการกำหนด ในปี 1979

 

























พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg)

            โคลเบิร์ก ( Lawrence  Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป วิธีการวิจัย จะสร้างสถานการณ์สมมติปัญหาทางจริยธรรมที่ผู้ตอบยากที่จะตัดสินใจได้ว่า “ถูก” “ผิด” “ควรทำ” “ไม่ควรทำ” อย่างเด็ดขาด  เพราะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง  การตอบจะขึ้นกับวัยของผู้ตอบเกี่ยวกับความเห็นใจในบทบาทของผู้แสดงพฤติกรรมในเรื่องค่านิยม  ความสำนึกในหน้าที่ในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม ความยุติธรรมหรือหลักการที่ตนยึดถือ 
            โคลเบิร์ก  ให้คำจำกัดความของจริยธรรมว่า จริยธรรมเป็นความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความถูกผิด และเกิดขึ้นจากขบวนการทางความคิดอย่างมีเหตุผล  ซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา  
           โคลเบิร์ก เชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นผลจากการพัฒนาการของโครงสร้างทางความคิดความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม  นอกจากนั้น โคลเบิร์ก  ยังพบว่า  ส่วนมากการพัฒนาทางจริยธรรมของเด็กจะไม่ถึงขั้นสูงสุดในอายุ 10 ปี แต่จะมีการพัฒนาขึ้นอีกหลายขั้นจากอายุ 11-25 ปี  การใช้เหตุผลเพื่อการตัดสินใจที่จะเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของจิตใจของบุคคล  การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม  ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ  แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจยิ่งขึ้นตามลำดับของวุฒิภาวะทางปัญญา  
            โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ ( Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น คำอธิบายของระดับและขั้นต่างๆ ของพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก มีดังต่อไปนี้

            ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre - Conventional Level) ระดับนี้เด็กจะรับกฎเกณฑ์และข้อกำหนดของพฤติกรรมที่ “ดี  “ไม่ดี” จากผู้มีอำนาจเหนือตน เช่น บิดามารดา ครูหรือเด็กโต และมักจะคิดถึงผลตามที่จะนำรางวัลหรือการลงโทษ
            พฤติกรรม ดี”  คือ  พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล
            พฤติกรรม ไม่ดี”  คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ
โดยบุคคลจะตอบสนองต่อกฎเกณฑ์ซึ่งผู้มีอำนาจทางกายเหนือตนเองกำหนดขึ้น  จะตัดสินใจเลือกแสดงพฤติกรรมที่เป็นหลักต่อตนเอง  โดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น  จะพบในเด็ก 2-10 ปี  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง ( Punishment and Obedience Orientation)  เด็กจะยอมทำตามคำสั่งผู้มีอำนาจเหนือตนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ตนถูกลงโทษ ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ เพราะกลัวความเจ็บปวด  ยอมทำตามผู้ใหญ่เพราะมีอำนาจทางกายเหนือตน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า ในขั้นนี้เด็กจะใช้ผลตามของพฤติกรรมเป็นเครื่องชี้ว่า  พฤติกรรมของตน ถูก” หรือ “ผิด” เป็นต้นว่า  ถ้าเด็กถูกทำโทษก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ  “ผิด  และจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งนั้นอีก  พฤติกรรมใดที่มีผลตามด้วยรางวัลหรือคำชม เด็กก็จะคิดว่าสิ่งที่ตนทำ “ถูก”  และจะทำซ้ำอีกเพื่อหวังรางวัล

            ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน  ( Instrumental Relativist Orientation) ใช้หลักการแสวงหารางวัลและการแลกเปลี่ยน  บุคคลจะเลือกทำตามความพอใจตนของตนเอง  โดยให้ความสำคัญของการได้รับรางวัลตอบแทน  ทั้งรางวัลที่เป็นวัตถุหรือการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ  โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องของสังคม ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการผลประโยชน์สิ่งตอบแทน  รางวัล และสิ่งแลกเปลี่ยน  เป็นสิ่งตอบแทน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ในขั้นนี้เด็กจะสนใจทำตามกฎข้อบังคับ  เพื่อประโยชน์หรือความพอใจของตนเอง หรือทำดีเพราอยากได้ของตอบแทน หรือรางวัล ไม่ได้คิดถึงความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น  พฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้ทำเพื่อสนองความต้องการของตนเอง  แต่มักจะเป็นการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น เช่น ประโยค ถ้าเธอทำให้ฉัน  ฉันจะให้.......

            ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม ( Conventional Level)  พัฒนาการจริยธรรมระดับนี้  ผู้ทำถือว่าการประพฤติตนตามความคาดหวังของผู้ปกครอง บิดามารดา กลุ่มที่ตนเป็นสมาชิกหรือของชาติ เป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือทำความผิด เพราะกลัวว่าตนจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น  ผู้แสดงพฤติกรรมจะไม่คำนึงถึงผลตามที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง  ถือว่าความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีเป็นสิ่งสำคัญ  ทุกคนมีหน้าที่จะรักษามาตรฐานทางจริยธรรม
           โดยบุคคลจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมที่ตนเองอยู่  ตามความคาดหวังของครอบครัวและสังคม  โดยไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นหรือภายหลังก็ตาม  จะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมโดยคำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น  จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ เด็กดี (Interpersonal  Concordance of “Good boy , nice girl” Orientation) บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ  ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน  ไม่เป็นตัวของตัวเอง  คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี  พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ  และยกย่องชมเชย ทำให้บุคคลไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง  ชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น  โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อน
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  พัฒนาการทางจริยธรรมขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ คนดี” ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของบิดา มารดาหรือเพื่อนวัยเดียวกัน พฤติกรรม “ดี” หมายถึง  พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ  หรือไม่ประพฤติผิดเพราะเกรงว่าพ่อแม่จะเสียใจ

            ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ (“Law-and-order” Orientation) จะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม โดยปฏิบัติตามระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด  เรียนรู้การเป็นหน่วยหนึ่งของสังคม  ปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมเพื่อดำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ในสังคม พบในอายุ 13 -16 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหน้าที่ของสังคม  โดยบุคคลรู้ถึงบทบาทและหน้าที่ของเขาในฐานะเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมนั้น  จึงมีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่สังคมกำหนดให้ หรือคาดหมายไว้
            โคลเบิร์ก อธิบายว่า  เหตุผลทางจริยธรรมในขั้นนี้ ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบเรียบร้อยต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ  คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้องคือ  คนที่ปฏิบัติตามระเบียบบังคับหรือกฎหมาย  ทุกคนควรเคารพกฎหมาย เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความเป็นระเบียบของสังคม

            ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม  ( Post - Conventional Level)  พัฒนาการทางจริยธรรมระดับนี้  เป็นหลักจริยธรรมของผู้มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป  ผู้ทำหรือผู้แสดงพฤติกรรมได้พยายามที่จะตีความหมายของหลักการและมาตรฐานทางจริยธรรมด้วยวิจารณญาณ  ก่อนที่จะยึดถือเป็นหลักของความประพฤติที่จะปฏิบัติตาม  การตัดสินใจ   “ถูก  “ผิด” “ไม่ควร” มาจากวิจารณญาณของตนเอง  ปราศจากอิทธิพลของผู้มีอำนาจหรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก กฎเกณฑ์ – กฎหมาย  ควรจะตั้งบนหลักความยุติธรรม  และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของสังคมที่ตนเป็นสมาชิก  ทำให้บุคคลตัดสินข้อขัดแย้งของตนเองโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอาศัยค่านิยมที่ตนเชื่อและยึดถือเป็นเครื่องช่วยในการตัดสินใจ  จะปฏิบัติตามสิ่งที่สำคัญมากกว่าโดยมีกฎเกณฑ์ของตนเอง  ซึ่งพัฒนามาจากกฎเกณฑ์ของสังคม  เป็นจริยธรรมที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป  โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการทางจริยธรรม ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ

            ขั้นที่ 5  สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา ( Social Contract Orientation)  บุคคลจะมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก  ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น  สามารถควบคุมตนเองได้  เคารพการตัดสินใจที่จะกระทำด้วยตนเอง  ไม่ถูกควบคุมจากบุคคลอื่น  มีพฤติกรรมที่ถูกต้องตามค่านิยมของตนและมาตรฐานของสังคม  ถือว่ากฎเกณฑ์ต่างๆเปลี่ยนแปลงได้  โดยพิจารณาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก  พบได้ในวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามมาตรฐานของสังคม เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยบุคคลเห็นความสำคัญของคนหมู่มากจึงไม่ทำตนให้ขัดต่อสิทธิอันพึงมีได้ของผู้อื่น  สามารถควบคุมบังคับใจตนเองได้  พฤติกรรมที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปตามค่านิยมส่วนตัว  ผสมผสานกับมาตรฐานซึ่งได้รับการตรวจสอบและยอมรับจากสังคม  
             โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ขั้นนี้เน้นถึงความสำคัญของมาตรฐานทางจริยธรรมที่ทุกคนหรือคนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ถูกสมควรที่จะปฏิบัติตาม  โดยพิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของบุคคลก่อนที่จะใช้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรม  ได้ใช้ความคิดและเหตุผลเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนผิดและสิ่งไหนถูก ในขั้นนี้การ ถูก” และ  “ผิด” ขึ้นอยู่กับค่านิยมและความคิดเห็นของบุคคลแต่ละบุคคล  แม้ว่าจะเห็นความสำคัญของสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างบุคคล  แต่เปิดให้มีการแก้ไข  โดยคำนึงถึงประโยชน์และสถานการณ์แวดล้อมในขณะนั้น

            ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล  ( Universal Ethical Principle Orientation) เป็นขั้นที่เลือกตัดสินใจที่จะกระทำโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากลของผู้เจริญแล้ว  ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อทำตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์  มีอุดมคติและคุณธรรมประจำใจ  มีความยืดหยุ่นและยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ  ด้วยความยุติธรรม และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน  เคารพในความเป็นมนุษย์ของแต่ละบุคคล  ละอายและเกรงกลัวต่อบาป  พบในวัยผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา
           โคลเบิร์ก อธิบายว่า  ขั้นนี้เป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล  เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม  เพื่อความเสมอภาคในสิทธิมนุษยชนและเพื่อความยุติธรรมของมนุษย์ทุกคน  ในขั้นนี้สิ่งที่ ถูก” และ  “ผิด  เป็นสิ่งที่ขึ้นมโนธรรมของแต่ละบุคคลที่เลือกยึดถือ




















 ทษฤฎีพัฒนาการของโคลเบิร์ก

1.พฤติกรรมใดของบุคคลต่อไปนี้ตรงกับ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กในระดับที่ ขั้นที่ 2 ?
                     ก.มารุต ช่วยคุณครูถือของไปวางไว้ที่ห้องพักครู และครูได้ให้ขนมแก่เขาเป็นสิ่งตอบแทน
                     ข. นิติ ผลักเพื่อนเพื่อแย่งของเล่นมาล่นคนเดียวอย่างสบายใจ
                     ค.ปรียาโดนคุณแม่บังคับให้กราบคุณยาย
                     ง.ครูก้อยนำขนมวางไว้เพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็ก โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า เด็กคนใดไหว้                           สวย เดี๋ยวครูจะให้ขนม

2.”คุณพ่อได้ออกกฎระเบียบของบ้านให้แก่ลูกๆว่า เมื่อเล่นของเล่นเสร็จให้นำของเล่นเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน และลูกๆก็ปฏิบัติตามกฎของคุณพ่ออย่างเคร่งครัด เพราะการเก็บของเล่นให้เรียบร้อยหลังจากเล่นเสร็จ เป็นพฤติกรรมที่ดีและควรทำ” ตัวอย่างข้างต้นตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก?
                     ก.ระดับ 2 ขั้น 4                          ข.ระดับ ขั้น 6
                     ค.ระดับ ขั้น 1                          ง.ระดับ ขั้น 3

3.น้องนิรินมีพฤติกรรมที่ทำในสิ่งที่ตนเองพอใจ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น น้องนิรินมีพัฒนาการทางจริยธรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                     ก.ระดับที่ 1                                   ข.ระดับที่ 2
                     ค.ระดับที่ 3                                   ง.ระดับที่ 4

4.”มาลี เป็นคนที่ไม่เอาเปรียบผู้อื่นเสมอต้นเสมอปลาย พฤติกรรมที่ทำให้คนรอบข้างชอบและชื่นชมมาลี คือ มาลีเป็นคนรักษาคำมั่นสัญญา ข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในขั้นใด?
                    ก.ขั้นที่ 1                                        ข.ขั้นที่ 3
                    ค.ขั้นที่ 5                                        ง.ขั้นที่ 6

5.”เมษา ชอบคิดเล็กคิดน้อยและจะคล้อยตามการชักจูงของเพื่อน เพื่อจะได้เป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของกลุ่มเพื่อน ทำให้ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง” พฤติกรรมนี้อยู่ในช่วงอายุใดตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก?
                    ก.5-6 ปี                                          ข.6-10 ปี
                    ค.10-15 ปี                                      ง.15-20 ปี

6.การกระทำในข้อใดที่ควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดออกมา โดยการสรางบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้เด็ก อภิปรายได้อย่างอิสระ?
                   ก.มีมี่ ชอบฟังนิทาน มีจินตนาการกว้างไกล แม่จึงถ่ายวีดิโอให้มีมี่เล่านิทาน
                   ข.บอย เป็นเด็กติดแม่และถูกตามใจตลอด และแม่จะเป็นคนแก้ปัญหาให้บอยตลอดเวลา
                   ค.เจน มีความมั่นใจในตัวเองสูง จึงมักจะทำอะไรโดยไม่คิด แต่มีแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
                   ง.ก้อย เป็นเด็กที่อยากรู้อยากเห็น จึงมักถามเสมอในสิ่งที่ตนไม่เขาใจ แม่จะเป็นผู้อธิบายทุก                        อย่าง เพื่อให้ก้อยเข้าใจในที่สุด

7.หมูน้อย ปรับตัวตามเพื่อนๆในกลุ่มทุกๆเรื่อง เพื่อให้เพื่อนรักและยอมรับในตัวเขา พฤติกรรมแบบนี้ เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                  ก.ระดับจริยธรรมอย่างมีจิตวิญญาณ
                  ข.ระดับจริยธรรมคุณธรรม
                  ค.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
                  ง.ระดับจริยธรรมก่อนกฎเกณฑ์สังคม

8.พฤติกรรมใดของบุคคลในสังคมที่ควรได้รับการแก้ไข?
                  ก.สมศรีชอบให้เงินแก่คนขอทาน
                  ข.สมนึกตัดสินคดีความด้วยความซื่อตรง
                  ค.สมหวังเป็นคนเจ้าชู้มีภรรยาหลายคน
                  ง.สมคิดชอบให้หมอดูทำนายดวงชะตา

9.น้องแดงมีพฤติกรรมชอบรังแกผู้อื่น ครูจึงลงโทษน้องแดง พฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                 ก.ระดับจริยธรรมก่อนเกณฑ์สังคม
                 ข.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
                 ค.ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
                 ง.ระดับจริยธรรมคุณธรรมสังคม

10.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม?
                 ก.บุญชูชอบกินขนมหวานจนเป็นโรคอ้วน พ่อจึงดุ
                 ข.บุญชัยเป็นคนฉลาดเพราะชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอด
                 ค.กรรชัยเป็นคนที่ไม่เคารพกฎจราจร เนื่องจากเขาชอบขับรถฝ่าไฟแดง
                 ง.บุญช่วยชอบเป็นผู้นำในกลุ่มเพื่อน เพื่อให้เพื่อนยอมรับและประทับใจทั้งๆที่เขาเป็นคนไม่                       กล้าแสดงออก
11. ถ้าเธอทำการบ้านให้ฉัน ฉันจะให้ขนมเป็นรางวัล” จากประโยคดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมใด?
ก. ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ                         ข. ต้องการผลประโยชน์ สิ่งตอบแทน
ค. เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นเพื่อนที่ดี           ง. รู้จักช่วยเหลือเพื่อนในยามที่ต้องการความช่วยเหลือ

12. ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนมีกฎเกณฑ์สังคมคือข้อใด?
ก. ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม       
ข. การแสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ
ค. การมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
ง. การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด

13. หนูแดงลอกข้อสอบเพื่อนในชั้นเรียน คุณครูจึงลงโทษให้หนูแดงสอบตก จัดอยู่ในพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับใด?
ก. ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม                            ข. ระดับตามกฎเกณฑ์สังคม
ค. ระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม                           ง. ระดับจริยธรรมตามหลักการว่าด้วยวิจารณญาณ

14.วัยรุ่นอายุระหว่าง10-15ปี แสดงพฤติกรรมชอบคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เพราะเหตุใด?
ก. ต้องการทำตามคำมั่นสัญญา                         ข. เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
ค. ต้องการการยอมรับในสังคม                          ง. เพราะคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนหมู่มาก

15. พฤติกรรมดี หรือ ไม่ดี ในอายุระหว่าง2-10ปี ตัดสินได้จากสิ่งใด?
ก. จากเพื่อน                                              ข. จากผู้มีอำนาจเหนือตน
ค. จาก บิดา มารดา ครู                                   ง. ข้อ ข และ ค ถูก

16. อะไรคือเครื่องช่วยในการตัดสินใจ ทีทำให้หลักจริยธรรมของผู้มีอายุ20ปีขึ้นไปปฏิบัติหรือทำตามกฎเกณฑ์?
ก. การใช้ความคิดไตร่ตรอง                    ข. อาศัยค่านิยมที่ตนเชื่อถือ
ค. การใช้หลักวิจารณญาน                      ง. ถูกทุกข้อ

17. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้อง?
ก. จริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาน เป็นพัฒนาการจริยธรรมของผู้มีอายุ 18ปีขึ้นไป
ข. สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา จะมีเหตุผลในการกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก
ค. หลักการคุณธรรมสากล เป็นขั้นที่ยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์
ง. ข้อ ข และ ค ถูก

18.หลักการคุณธรรมสากลเป็นขั้นที่เลือกตัดสินใจที่จะกระทำโดยยอมรับความคิดที่เป็นสากลของผู้เจริญแล้ว ขั้นนี้แสดงพฤติกรรม โดยคำนึงถึงอะไร?
ก. คำนึงถึงผลประโยชน์ของตัวเอง                                             ข. คำนึงถึงประโยชน์ของคนหมู่มาก
ค. คำนึงถึงความถูกต้องยุติธรรมยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์       ง. คำนึงถึงผลตอบแทน

19. ข้อใดคือหลักการคุณธรรมสากล?
ก. มีอุดมคติและคุณธรรมประจำใจ                                           ข. ละอายและเกรงกลัวต่อบาป
ค. ยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ ด้วยความยุติธรรม                    ง. ถูกทุกข้อ

20.การแต่งกายด้วยชุดฮิญาบตามหลักศาสนาอิสลามของเด็กวัยรุ่นในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นตัวอย่างพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กวัยรุ่นในขั้นใด ?
ก. การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง                                             ข. กฎและระเบียบของสังคม
ค. สัญญาสังคมหรือการทำตามคำมั่นสัญญา                                ง. หลักคุณธรรมสากล

21.เด็กชาย ก สั่งให้เด็กหญิง ข ไปแกล้งเพื่อนคนหนึ่งซึ่งไม่ใช่นิสัยของเด็กหญิง ข ที่ชอบแกล้งคนอื่นแต่เด็กหญิง ข ยอมทำ จากประโยคข้างต้นจะอยู่ในพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กขั้นที่เท่าไหร่?
.ขั้นที่ 1 ขั้นการถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
.ขั้นที่ 2 ขั้นกฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
.ขั้นที่ 3 ขั้นความคาดหวังและการยอมรับในสังคม
.ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ

22.เด็กในวัย 2-10 ปี จะรู้แค่ว่า พฤติกรรมดี คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รางวัล และพฤติกรรมที่ไม่ดี คือ พฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับโทษ จะอยู่ในระดับใดในพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก?
.ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม
.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
.ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ
.ถูกทุกข้อ

23.น้องแก้วไปโรงเรียนทุกๆวันจะแต่งกายเรียบร้อยตามกฎระเบียบของโรงเรียน อยากทราบว่าน้องมีพัฒนาการทางจริยธรรมอยู่ในขั้นใด?
.ขั้นที่ 1 ขั้นการถูกลงโทษและการเชื่อฟัง
.ขั้นที่ 2 ขั้นกฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน
.ขั้นที่ 3 ขั้นความคาดหวังและการยอมรับในสังคม
.ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ

24.คนในวัยใดที่รู้จักผิด-ถูก และสามารถวิจารณญาณในสิ่งที่ตนเองได้ทำว่าสิ่งไหนควรสิ่งไหนไม่ควร?
.10 ปี                                 .15 ปี                                                
.18 ปี                                 .20 ปีขึ้นไป

25.บุคคลใดทีแสดงพฤติกรรมตามกฎระเบียบของสังคมทีได้ว่างไว้?
.ทรายสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งก่อนขับรถมอเตอร์ไซต์
.มายูสอบได้ที่หนึ่งของห้องทุกปี
.มดชอบทำจิตอาสากับเพื่อนทุกๆวันหยุด
.ฟางเดินข้ามถนนใต้สะพานลอยทุกครั้ง

26.ทรายสอบได้ทีหนึ่งของห้องทุกปี ครูประจำชั้นได้ให้รางวัลแก่ทรายเพื่อเป็นแบบอย่างทีดีให้กับนักเรียน ข้อนี้เป็นพัฒนาการขั้นใด?
.ขั้นที2                                                .ขั้นที3                                                
.ขั้นที4                                                .ขั้นที5

27.เด็กชายนัทได้มีการทะเลาะวิวาทกับเพื่อนในห้อง ครูผ่านมาเห็นนักเรียนทั้งสองทะเลาะกัน จึงเรียกไปพบและสอบถามความจริงเป็นอย่างไร จากบทความดังกล่าวครูได้ใช้พัฒนาการขั้นใด?
.สัญญาสังคม
.จริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
.คุณธรรมสากล
.ผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่

28.ฉันจะไม่ทำสิ่งทีไม่ดี ฉันจะทำแต่สิ่งดีๆให้พ่อกับแม่ภูมิใจ จากที่กล่าวมาเด็กมีพฤติกรรมขั้นใด?
.ขั้นทีจริยธรรมของผู้อื่น
.ขั้นทีผลประโยชน์ของตนเป็นใหญ่
.ขั้นทีระเบียบระบบของสังคม
.ขั้นทีคุณธรรมสากล

29.บุคคลในข้อใด ส่งเสริมในเรื่องไม่เหมาะสม?
ก. แก้ว ตักเตือนน้องที่แสดงกริยาไม่เหมาะสมกับแขก
ข. พ่อแม่ของพลอย ชอบเข้าข้างพลอยเวลามีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนในห้องเรียน
ค. กล้า สนับสนุนเพื่อนในการประกวดร้องเพลง
ง. สุดา มักแสดงพฤติกรรมทางสีหน้าอย่างชัดเจนเวลาไม่พอใจ

30.ขั้นที่แสดงพฤติกรรมเมื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ จัดอยู่ในขั้นใด?
ก. ระดับจริยธรรมของผู้อื่น
ข. กฎและระเบียบสังคม
ค. ความพึ่งพอใจของตนเอง
ง. การยอมรับของกลุ่มและสังคม

31.โคลเบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาจากชาวใด?
ก.เยอรมัน
ข.อังกฤต
ค.อเมริกา
ง.รัสเซีย

32.ชื่อเต็มของโคลเบิร์ก มีชื่อว่าอะไร?
ก.Joseph Kohlberg
ข.Henrick Kohlberg
ค.Jason Kohlberg
ง.Lawrence Kohlberg

33.โคลเบิร์ก มีแนวคิดร่วมกับนักจิตวิทยาคนใด?
ก.เพียเจต์
ข.ฟรอยดฺ์
ค.พาฟลอฟ
ง.ถูกทุกข้อ

34.โคลเบิร์ก ได้ทำการวิเคราะห์เหตุผลเชิงจริยธรรมและได้แบ่งประเภทเหตุผลเชิงจริยธรรมไว้ทั้งหมดกี่ประเภท?
ก. 5 ประเภท
ข. 6 ประเภท
ค. 7 ประเภท
ง. 8 ประเภท

35.โคลเบิร์ก ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมไว้กี่ระดับ?
ก. 3 ระดับ
ข. 4 ระดับ
ค. 5 ระดับ
ง. 6 ระดับ

36.ลำดับขั้นพัฒนาการจริยธรรมของโคลเบิร์ก ลำดับขั้นที่ 4 มีชื่อว่าอะไร?
ก.บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม
ข.บุคคลยึดกฏและระเบียบ
ค.บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม
ง.บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล

37.โคลเบิร์ก ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยใด?
ก.เม็กซิโก
ข.ชิคาโก
ค.นิวยอร์ค
ง.ลอสแอนเจอลิส

38.พฤติกรรมใดของบุคคลต่อไปนี้ตรงกับ ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กในระดับที่ ขั้นที่ 2 ?
                     ก.มารุต ช่วยคุณครูถือของไปวางไว้ที่ห้องพักครู และครูได้ให้ขนมแก่เขาเป็นสิ่งตอบแทน
                     ข. นิติ ผลักเพื่อนเพื่อแย่งของเล่นมาล่นคนเดียวอย่างสบายใจ
                     ค.ปรียาโดนคุณแม่บังคับให้กราบคุณยาย
                     ง.ครูก้อยนำขนมวางไว้เพื่อเป็นรางวัลให้แก่เด็ก โดยกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า เด็กคนใดไหว้                           สวย เดี๋ยวครูจะให้ขนม

39.”คุณพ่อได้ออกกฎระเบียบของบ้านให้แก่ลูกๆว่า เมื่อเล่นของเล่นเสร็จให้นำของเล่นเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในบ้าน และลูกๆก็ปฏิบัติตามกฎของคุณพ่ออย่างเคร่งครัด เพราะการเก็บของเล่นให้เรียบร้อยหลังจากเล่นเสร็จ เป็นพฤติกรรมที่ดีและควรทำ” ตัวอย่างข้างต้นตรงกับทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก?
                     ก.ระดับ 2 ขั้น 4                          ข.ระดับ ขั้น 6
                     ค.ระดับ ขั้น 1                          ง.ระดับ ขั้น 3

40.น้องนิรินมีพฤติกรรมที่ทำในสิ่งที่ตนเองพอใจ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น น้องนิรินมีพัฒนาการทางจริยธรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                     ก.ระดับที่ 1                                   ข.ระดับที่ 2
                     ค.ระดับที่ 3                                   ง.ระดับที่ 4

41.”มาลี เป็นคนที่ไม่เอาเปรียบผู้อื่นเสมอต้นเสมอปลาย พฤติกรรมที่ทำให้คนรอบข้างชอบและชื่นชมมาลี คือ มาลีเป็นคนรักษาคำมั่นสัญญา ข้อความดังกล่าวจัดอยู่ในขั้นใด?
                    ก.ขั้นที่ 1                                        ข.ขั้นที่ 3
                    ค.ขั้นที่ 5                                        ง.ขั้นที่ 6

42.”เมษา ชอบคิดเล็กคิดน้อยและจะคล้อยตามการชักจูงของเพื่อน เพื่อจะได้เป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของกลุ่มเพื่อน ทำให้ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง” พฤติกรรมนี้อยู่ในช่วงอายุใดตามทฤษฎีของโคลเบิร์ก?
                    ก.5-6 ปี                                          ข.6-10 ปี
                    ค.10-15 ปี                                      ง.15-20 ปี

43.การกระทำในข้อใดที่ควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดออกมา โดยการสรางบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้เด็ก อภิปรายได้อย่างอิสระ?
                   ก.มีมี่ ชอบฟังนิทาน มีจินตนาการกว้างไกล แม่จึงถ่ายวีดิโอให้มีมี่เล่านิทาน
                   ข.บอย เป็นเด็กติดแม่และถูกตามใจตลอด และแม่จะเป็นคนแก้ปัญหาให้บอยตลอดเวลา
                   ค.เจน มีความมั่นใจในตัวเองสูง จึงมักจะทำอะไรโดยไม่คิด แต่มีแม่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
                   ง.ก้อย เป็นเด็กที่อยากรู้อยากเห็น จึงมักถามเสมอในสิ่งที่ตนไม่เขาใจ แม่จะเป็นผู้อธิบายทุก                        อย่าง เพื่อให้ก้อยเข้าใจในที่สุด

44.หมูน้อย ปรับตัวตามเพื่อนๆในกลุ่มทุกๆเรื่อง เพื่อให้เพื่อนรักและยอมรับในตัวเขา พฤติกรรมแบบนี้ เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                  ก.ระดับจริยธรรมอย่างมีจิตวิญญาณ
                  ข.ระดับจริยธรรมคุณธรรม
                  ค.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
                  ง.ระดับจริยธรรมก่อนกฎเกณฑ์สังคม

45.พฤติกรรมใดของบุคคลในสังคมที่ควรได้รับการแก้ไข?
                  ก.สมศรีชอบให้เงินแก่คนขอทาน
                  ข.สมนึกตัดสินคดีความด้วยความซื่อตรง
                  ค.สมหวังเป็นคนเจ้าชู้มีภรรยาหลายคน
                  ง.สมคิดชอบให้หมอดูทำนายดวงชะตา

46.น้องแดงมีพฤติกรรมชอบรังแกผู้อื่น ครูจึงลงโทษน้องแดง พฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมระดับใดของโคลเบิร์ก?
                 ก.ระดับจริยธรรมก่อนเกณฑ์สังคม
                 ข.ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
                 ค.ระดับจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ
                 ง.ระดับจริยธรรมคุณธรรมสังคม

47.ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุด เกี่ยวกับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม?
                 ก.บุญชูชอบกินขนมหวานจนเป็นโรคอ้วน พ่อจึงดุ
                 ข.บุญชัยเป็นคนฉลาดเพราะชอบแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอด
                 ค.กรรชัยเป็นคนที่ไม่เคารพกฎจราจร เนื่องจากเขาชอบขับรถฝ่าไฟแดง
                 ง.บุญช่วยชอบเป็นผู้นำในกลุ่มเพื่อน เพื่อให้เพื่อนยอมรับและประทับใจทั้งๆที่เขาเป็นคนไม่                       กล้าแสดงออก
48. ถ้าเธอทำการบ้านให้ฉัน ฉันจะให้ขนมเป็นรางวัล” จากประโยคดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมใด?
ก. ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับ                         ข. ต้องการผลประโยชน์ สิ่งตอบแทน
ค. เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นเพื่อนที่ดี           ง. รู้จักช่วยเหลือเพื่อนในยามที่ต้องการความช่วยเหลือ

49. ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนมีกฎเกณฑ์สังคมคือข้อใด?
ก. ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม       
ข. การแสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ
ค. การมีเหตุผลในการเลือกกระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
ง. การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัด

50. หนูแดงลอกข้อสอบเพื่อนในชั้นเรียน คุณครูจึงลงโทษให้หนูแดงสอบตก จัดอยู่ในพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับใด?
ก. ระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม                            ข. ระดับตามกฎเกณฑ์สังคม
ค. ระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม                           ง. ระดับจริยธรรมตามหลักการว่าด้วยวิจารณญาณ


























การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
         ห้องเรียนทุกห้องจำเป็นจะต้องมีระเบียบกฏเกณฑ์ที่ นร. ทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน ถ้าครูอธิบายเหตุผลของการมีกฏเกณฑ์และพยายามให้ นร. มีส่วนร่วมในการเขียนระเบียบกฏเกณฑ์ของห้องแทนการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของห้องเรียน เพราะเกรงว่าจะถูกทำโทษหรือประพฤติดี เพราะต้องการรางวัล จะช่วยส่งเสริมให้ นร. ใช้เหตุผลทางจริยธรรมขั้นสูง นอกจากนี้ ครูจะช่วยพัฒนาทางจริยธรรมของ นร. ได้ ถ้าครูมีความสันพันธ์กับ นร. ชี้แจงเหตุผลเวลาทำโทษ จะช่วยให้ นร.ให้มีสติ มีความรับผิดชอบ ควบคุมความประพฤติของตนเอง